การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร (Condition Monitoring)
ตามกฎหมายแล้ว เครื่องจักรต้องตรวจสภาพตามการใช้งานประจำปี แยกเป็นทั้งหมด 7 ชนิด ตามกฎหมาย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ดังนั้น การที่จะเข้ามาใช้งานหรือตรวจสอบเครื่องจักรนั้นๆแล้ว จำเป็นต้องมีใบรับรองเพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องจักร ดูว่าเครื่องจักรประเภทต่างๆที่ได้นำเข้ามาทำงานนั้นมีสภาพความพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย
ชนิดเครื่องจักรที่ต้องตรวจรับรองประจำปี
1. เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและขนย้าย เช่น รถยก โฟลค์ลิฟท์ ฯ
2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินและงานถนน รถแทรกเตอร์ เครื่องจักรกล สำหรับงานขุด ฯ
3. เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ฯ
4.เครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างเครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานเจาะเสาเข็ม
5.เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุดอุโมงค์ งานเจาะ ฯ
6.เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลาย เครื่องสกัด คอนกรีตเบรกเกอร์
7. เครื่องจักรอื่นที่อำจก่อให้เกิดอันตรำยจำกกำรใช้งำนตำมที่อธิบดีประกำศกำหนด
เครื่องจักรที่มีคุณภาพ จะต้องประกอบด้วย
1. มีการออกแบบที่ดีและตรงตามความประสงค์ต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง แม่นยำ รวมทั้งสามารถทำงานได้เต็มกำลังตาม ความสามารถที่ออกแบบไว้
2. มีการผลิตหรือสร้าง ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน สามารถทำงานได้นานที่สุดและตลอดเวลา
3. มีการติดตั้งในสถานที่ที่เหมาะสม และสะดวกต่อการใช้งาน
4. มีการใช้งานเป็นไปตามคุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง
5. มีระบบการบำรุงรักษาที่ดี เนื่องจากเครื่องมือ เครื่องใช้ เมื่อถูกใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพ ชำรุด สึกหรอ
เสียหาย ขัดข้อง ดังนั้นเพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ ยาวนานสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของการของผู้ใช้
การตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน (Oil Quality Inspection)
เพราะน้ำมันหล่อลื่นเปรียบเสมือนเลือดที่สูบฉีดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร ซึ่งการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันจะสามารถบ่งชี้สมรรถนะและสภาพของเครื่องจักร เพื่อเพิ่มความพร้อมในการใช้งานของเครื่องจักร และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่เกิดจากน้ำมันหล่อลื่น ความสูญเสียโอกาสจากการหยุดเดินเครื่องของเครื่องจักร และอื่นๆ
การตรวจวิเคราะห์น้ำมันหลังการใช้งาน (Used Oil Analysis)
สามารถบอกถึงสมรรถนะ หรือสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ สภาวะการสึกหรอ การเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นและสิ่งสกปรกปนเปื้อนต่างๆ โดยช่างซ่อมบำรุงหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องทำการเก็บตัวอย่างน้ำมัน เพื่อตรวจสอบหาคุณสมบัติของสารหล่อลื่นและทำการวิเคราะห์เศษโลหะ เพื่อหาสาเหตุของความเสียหายและระดับความรุนแรง ซึ่งการตรวจวิเคราะห์น้ำมันหลังการใช้งานจะทำให้สามารถใช้น้ำมันได้อย่างคุ้มค่าเครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้นสามารถลดต้นทุนโดยรวมของเครื่องจักรได้
ประเภทของการบำรุงรักษา
1. Breakdown Maintenance (การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย)
2. Planned/Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน)
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน)
4. Proactive maintenance (เป็นแนวคิดใหม่ในวงการบำรุงรักษา โดยการแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา)
อีกหนึ่งวิธีในบำรุงรักษาเชิงคาดการ (Predictive Maintenance)
การบำรุงรักษาตามสภาพเครื่องจักร (Condition Maintenance) ก็คือการวิเคราะห์ตรวจสอบน้ำมัน (Oil Analysis)
ซึ่งจะช่วยทำให้รู้ว่าน้ำมันหล่อลื่นสามราถใช้จะงานต่อได้หรือช่วยตรวจสภาพของเครื่องจักรได้ ซึ่งการวิเคราะห์ตรวจสอบน้ำมันนั้นจะแบ่งการตรวจสอบหลักอยู่ 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะใช้วิธีการตรวจสอบไม่เหมือนกัน
1.Contaminate ตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำมัน เช่น ฝุ่น (Particle contamination) หรือ ความชื้น (Moisture)
2.chemistry ตรวจสอบสภาพของน้ำมัน เช่น ความหนืด (Viscosity) ความเป็นกรด,เบส หรือชนิดของน้ำมัน
3.Wear ตรวจสอบสภาพของเครื่องจักร ดูความสึกหรอ เช่นความสึกหรอของฟันเฟือง (Gear Wear)
2 ตัวช่วยพลังสุดล้ำสมัย ถูกใจสายวิศวกรที่สุดคือ
ใช้งานง่าย ผ่านแอปได้เลย แค่ปลายนิ้ว เท่านั้น
สามารถดาวน์โหลดผ่าน IOS และ Android
มาพร้อมกับโปรฯสุดคุ้ม สำหรับคุณ
AT-100 + Bearing defender
แถมฟรี! Tablet ไปเลยวันนี้ และส่วนลดให้อีกมากมาย
รวมมูลค่าทั้งหมดมากกว่า 30,000 บาท
.
คุ้มสุด บวกทั้งประสิทธิภาพการทำงาน
กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สะดวก ปลอดภัยกว่า
ใครอยากได้ความรู้ เทคนิคดีๆ กับเครื่องมือวิศวกรยุคใหม่
Read Our Latest News
News & Articles
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.