ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

Vibration คืออะไร สำคัญอย่างไร ?

ทำความรู้จักกับ ความสั่นสะเทือน (Vibration)

      ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ หรือการสั่นสะเทือนของลำโพง เป็นต้น เครื่องจักรหรือมอเตอร์ในอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักร ถ้าค่าความสั่นที่วัดได้มีค่าสูง อาจมีสาเหตุมาจากเครื่องจักรเกิดความไม่สมดุล (Ulbarance) หรือเกิดจากการ เยื้องศูนย์ ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้ อาจทำให้เกิดเหตุการ Breakdown ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตโดยตรง

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน

     • ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการตรวจสอบคุณภาพ เช่น น้ำหนักของอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นไม่เท่ากัน  ระยะการจัดวาง และการเยื้องศูนย์ 
     • การบิดงอหรือเสียรูปทรงของชิ้นส่วนเนื่องจากการใช้งานมานาน
     • การเกาะตัวของวัตถุที่ไม่ต้องการบนส่วนของเครื่องจักร ทำให้เกิด ความไม่สมดุล (Unbalance) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร Vibration

1. เกิดเสียหายหรือมีการสึกหรอที่ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักร

ความเสียหายที่เกิดจาก ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) การสึกหรอของเครื่องจักร ชิ้นส่วนที่มีปัญหาทำให้เกิดการผิดปกติของเครื่องจักร เช่น คัปปลิ้ง, ตลับลูกปืน, สายพาน หรือพวกซีลต่างๆ

2.จุดยึดมีการขยับเนื่องจากความล้า

เมื่อเกิดการเยื้องศูนย์ขึ้น จุดยึดต่างๆเช่น ท่อ หรือฐานของเครื่องจักร จะมีเกิดความเค้นและความเครียดขึ้น ทำให้เห็นว่าจุดยึดขยับไปมา ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ และแก้ไขได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องตรวจเช็ค เครื่องจักรเป็นประจำเสมอๆ

3.แผ่นชิม (Shims) สามารถหลุดออกมาได้ง่าย

เมื่อขาของมอเตอร์มีความล้าสะสมและมีการโก่งขึ้นจนแผ่นชิมหลุดออกมาหรือสามารถถอดแผ่นชิมออกมาได้อย่างง่ายดาย และยังเป็นสัญญาณของการเกิด Soft foot ด้วย

การวัดการสั่นสะเทือน มีอะไรบ้าง

การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)

การวัดความเร็ว (Velocity)

การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)

•  นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว
•  วัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)
•  ใช้กับการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วรอบต่ำ ๆ ระหว่าง 1000-1200 RPM หรือ ประมาณ 20 Hz

•  เป็นการวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สั่นสะเทือน “มีความเร็ว เท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน”
•  โดยปกตินิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาที และนิ้ว/วินาที ในการวัดความเร็วเรามักจะวัดแบบ RMS
•  วัดการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20Hz -1,000Hz (หรือความเร็วรอบในการหมุนที่สูงกว่า 1, 200 rpm)

•การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อ
หน่วยเวลาของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือน
•วัดการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงคือตั ้งแต่ 10,000 Hz ขึ ้นไป
•การสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงนั ้นระยะทางการเคลื่อนที่จะน้อยและ
ใน ขณะเดียวกันความเร็วในการเคลื่อนที่จะสูงมาก

กราฟ FFT Spactrum คืออะไร

       คือการวิเคราะห์กราฟเชิงความถี่ ซึ่งสามารถช่วยให้แยกแยะปัญหา ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) หรือตรวจพบได้ชัดเจน และสามารถยืนยันปัญหาควบคู่กับการวิเคราะห์กราฟ  Time wave formT ในการตรวจสอบเครื่องจักรหากมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหา  ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากกราฟ Time Waveform หรือกราฟ FFT วิเคราะห์จาก พารามิเตอร์ เช่น ค่าความเร็ว ความเร่ง ค่าแรง G และ DEF อีกทั้งยังมี AI ในการช่วยวิเคราะห์ปัญหาพร้อม ฟันธงปัญหา จะช่วยในการประกอบการตัดสินใจจากผู้วิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี

เครื่องจักรจะต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 2 อย่าง คือ

  ในระหว่างเครื่องจักรทำงานไปสักระยะหนึ่ง แน่นอนว่าเครื่องจักรต้องเริ่มมีปัญหา หรือเริ่มมีการชำรุดสึกหรอ ปัญหาทั้งหมดนั้นล้วนเกิดจาก ชิ้นส่วนของเครื่องจักรหมุนนั้นก็คือ “เพลา” กับ “ลูกปืน” นั้นเอง

  เราจะมีการเฝ้าระวังหรือตรวจสอบปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้เครื่องวัด Vibration หรือ เครื่องวัดความสั่นสะเทือน FALCON เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตรวจสอบปัญหาให้เราได้แบบอัตโนมัติ

การทำ Wireless online vibration monitoring

การทำ Wireless online vibration monitoring คือ การที่เรานำ Sensor มาวัดความสั่นสะเทือนโดยติดตั้งไปที่เครื่องจักรตลอดเวลา โดยค่าความสั่นสะเทือนนั้นจะถูกเก็บมาวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลด้วยรูปแบบ Time Waveform Analysis

     การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition based maintenance) เป็นหนึ่งในการบำรุงรักษา เครื่องจักร เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักร โดยจะมีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสถานะต่างๆของเครื่องจักร เช่น Unbalanced , Bearing Defect คอยเฝ้าระวังในเรื่องของความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร ช่วยให้เราสามารถตรวจสถานะความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรได้ รวมถึงในการวางแผนที่จะซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยอ้างอิงจาก สถานะที่ตัว เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลมา โดยตัวข้อมูลที่ได้มานั้น จะบ่งบอกถึงความไม่พร้อมใช้งานในด้านต่างๆ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักรของเรา ดังนั้นเราจึงควรศึกษาเรื่อง ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) ให้ได้รับความรู้ได้อยากถูกต้อง

Application Acoem Machine Defender

หากคุณเคยเจอปัญหาในการจัดตั้งศูนย์เพลาเหล่านี้

❌  แบริ่งแตกเสียหายก่อนกำหนด
❌  ค่า Vibration เพิ่มขึ้น
❌  แรงเสียดทานเพิ่มขึ้น ทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น
❌  มีเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น

✅ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานทำให้ได้ค่าที่แม่นยำ✅

⚙️ดังนั้นเราจึงควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น Maintenance ก่อนกำหนด และยังช่วยประหยัดเวลาให้กับทีมช่างและโรงงานได้อีกด้วย

Bearing Defender

เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน ตรวจสอบปัญหาสุขภาพเครื่องจักร
ป้องกันการ Breakdown
   – รู้ผลการวิเคราะห์ เพียง 10 วินาทีเท่านั้น จาก Sensor ไร้สาย 3 แนวแกน
   – AI (Accurex) ที่แจ้งผลอัตโนมัติอ่านง่าย (ZYXtrum FFT spectrum 3 แกน)
   – ฟังก์ชั่นการถ่ายรูป 📷 ฟังเสียงตลับลูกปืน ยืนยันความถี่
สาเหตุของปัญหาของปัญหาความสั่นสะเทือน 

จะดีแค่ไหน❓
ถ้าหากมีเครื่องวัดการสั่นสะเทือนแบบไร้สาย ( Wireless Vibration )  vibration ให้อัตโนมัติ 

FALCON Smart Portable Vibration Analyzer
เครื่องมืออัจฉริยะที่สามารถช่วยให้คุณทราบปัญหาที่แท้จริงของเครื่องจักรทั้ง 3 แนวแกน ภายในเวลาไม่กี่วินาที

Eagle” คือเครื่องมือ Wireless Vibration ที่ใช้สำหรับวัดค่า Vibration แบบไร้สาย
และส่งข้อมูลแบบออนไลน์ผ่าน LAN / WiFi / 4G

ดังนั้น เรา ไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้างานด้วยตนเองอีกต่อไป เพียงแค่มี Computer เชื่อมต่อกับเครือข่าย ก็สามารถ Monitor และวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรจากที่ไหนก็ได้ เหมาะกับจุดที่คนเข้าถึงได้ยากและมีความอันตรายสูง
    ลดความเสี่ยงของคนทำงานในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักร ที่มากกว่าไปกว่านั้น Eagle ยังสามารถเก็บค่าได้ค่อนข้างถี่ ชั่วโมงละ 1 ครั้ง   แบตเตอรี่ใช้งานได้ถึง 5 ปี  และยัง Set ค่า alarm vibration ได้อีกด้วย เมื่อเครื่องจักรมีปัญหา Report สามารถส่งไปที่ Email ได้ทันที

ส่วนหนึ่งของลูกค้าที่ไว้ใจ
Read Our Latest News

News & Articles

เครื่องจักรนั้น มีหลายประเภท หลายการใช้งาน ซึ่ง จะแบ่งตามรูปแบบการใช้งานในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น การทำงานไม่ซับซ้อน อาจจะใช้เครื่องจักรที่เป็นรูปแบบ รอก , เชือก, ฟันเฟืองเล็กน้อย เป็นต้น ขยับความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมา ก็จะเป็นพวกที่ทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์เช่น เครื่องจักรในรูปแบบ PLC , เครื่องจักรประเภทมอเตอร์ , เครื่องจักรประเภทไฮดรอลิค เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องจักรในแต่ละประเภท ยกตัวอย่างมา ดังนี้
การตั้ง Alignment คืออะไร Pre-Alignment หรือ การตรวจสอบความพร้อมเครื่องจักรก่อนการตั้งศูนย์เพลา ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยให้ท่านป้องกันความผิดพลาด
FOREVER AND A DAY TECHNOLOGY

Product

X