ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter : 840063

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter : 840063

Acceleration: 0.1~199.9m/s
Velocity: 0.1~199.9m/s
Accuracy: ±(5% rdg.+2dgt.)
Displacement: 0.001~1.999mm

รายละเอียดเพิ่มเติม

   ระดับการสั่นสะเทือนเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับเครื่องชั่ง การตั้งศูนย์ และสภาพทั่วไปของปั๊ม มอเตอร์ และเครื่องจักรอื่นๆ การทรงตัวไม่ดี การวางไม่ตรงแนว และการหลวมส่งผลให้ระดับการสั่นสะเทือนสูงขึ้น และบ่งชี้ว่าจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาทั้งในด้านการปฏิบัติงานและเหตุผลด้านความปลอดภัย วัดความเร็วและความเร่ง จอแสดงผลขนาดใหญ่ระบุ RMS, Peak, min/max, hold และแบตเตอรี่ต่ำ  มาพร้อมกระเป๋าหิ้วแบบแข็งบุด้วยโฟม พร้อมหัววัดแม่เหล็กแรงสูงแบบถอดได้

ข้อมูลทางเทคนิค

    • ความเร่ง (Acceleration) ช่วงการวัด0.5 ~ 199.9 m/s² ความแม่นยำ: ±(5 % +2 d) reading
    • ความเร็ว (Velocity) ช่วงการวัด: 0.5 ~ 199.99 mm/s : 0.05 ~ 19.99 cm/s
    • Frequency: 10Hz~1KHz
    • Weight: 1.36 kg.

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน vibration meter

   ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ เป็นต้น งานอุตสหกรรม 1 แห่ง สามารถใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนร่วมกันกับแผนกอื่นๆได้  เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ  ไม่ว่าจะเป็น แผนกความปลอดภัยในการวัดความสั่นสะเทือนเพื่อบ่งบอกถึงความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร, แผนกซ่อมบำรุงในการป้องกันการ Breakdown , และแผนกอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรต่างๆ

ซึ่งความสั่นสะเทือนที่มากเกินปกตินั้น หากเกิดความละเลย ไม่มีการตรวจเช็คจนเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดกับเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนภายใน ผลลัพธ์ที่ได้ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม หรือเกิดการ Breakdown ทำให้เกิดความล่าช้าต่อการผลิต ร้ายแรงที่สุดคือ ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เลยก็ยังมี โดยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vivration Meter) สามารถช่วยในงานตรวจสอบและซ่อมบำรุง เพื่อให้ทราบปัญหาของเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย และไม่จำเป็นต้องเข้าไปเสี่ยงในพื้นที่อันตราย

หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนหลักๆ มี 3 หน่วยคือ Displacement ,Velocity ,Acceleration

การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)

มักใช้ในการวัด การสั่นสะเทือน ของรอบเครื่องจักร จากระยะเคลื่อนที่จุดแรก ไปถึงจุดอ้างอิงเท่าไหร่ โดยวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว(inch)

มักใช้กับเครื่องจักรที่มีรอบต่ำๆ ไม่เกิน 1200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ไม่เกิน 20 Hz

การวัดความเร็ว (Velocity)

มักใช้ในการวัด การความเร็วรอบของเครื่องจักร โดยวัดแบบ RMS

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)

ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากว่า 1,200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20 Hz-1000 Hz

การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)

มักใช้ในการวัด การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่นที่

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2)

มักใช้วัดกับการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไป
Read Our Latest News

News & Articles

เครื่องจักรนั้น มีหลายประเภท หลายการใช้งาน ซึ่ง จะแบ่งตามรูปแบบการใช้งานในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น การทำงานไม่ซับซ้อน อาจจะใช้เครื่องจักรที่เป็นรูปแบบ รอก , เชือก, ฟันเฟืองเล็กน้อย เป็นต้น ขยับความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมา ก็จะเป็นพวกที่ทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์เช่น เครื่องจักรในรูปแบบ PLC , เครื่องจักรประเภทมอเตอร์ , เครื่องจักรประเภทไฮดรอลิค เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องจักรในแต่ละประเภท ยกตัวอย่างมา ดังนี้
FOREVER AND A DAY TECHNOLOGY

Product

X