ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter : TEMMARS ST 141

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter : TEMMARS ST 141
Acceleration:
 0.5~199.9 m/s²

Displacement: 0.5~199.9 mm/s
Accuracy: ±(5%+5digits)
Measurement modes: RMS, Peak Value หรือ Max Hold

รายละเอียดเพิ่มเติม

   เครื่องวัดนี้สามารถวัดการสั่นสะเทือนโดยโรเตเตอร์และลูกสูบ รวมถึงความเสียหายของตลับลูกปืน ได้แก่ ความเร่ง ความเร็ว และการกระจัด คุณสามารถกำหนดได้ว่าจะซ่อมหรือต่ออายุเครื่องจักรผ่านมิเตอร์

ข้อมูลทางเทคนิค

    • สามารถวัดความสั่นสะเทือนได้ 2 แชนแนลพร้อมกัน
    • ช่วงความถี่ 10Hz ถึง 5KHz
    • สามารถวัดค่า Acceleration ความเร่ง, velocity ความเร็ว และ displacement ระยะการกระจัด
    • ตรงตามมาตรฐาน ISO 2954
    • เซนเซอร์ความแม่นยำสูง
    • สายเซนเซอร์ยาว 1.2 เมตร พร้อมหัววัดแม่เหล็ก
    • ช่วงความถี่ Frequency Lo range :10Hz~1KHz
    • ช่วงความถี่ Frequency Hi range : 10Hz~5KHz
    • ฟังชั่น MAX readings
    • บันทึกข้อมูลได้ 99 ข้อมูลแบบ Manually
    • ฟังชั่น Record /Recall MIN
    • Offset adjustment used for zero function

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน vibration meter

   ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ เป็นต้น งานอุตสหกรรม 1 แห่ง สามารถใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนร่วมกันกับแผนกอื่นๆได้  เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ  ไม่ว่าจะเป็น แผนกความปลอดภัยในการวัดความสั่นสะเทือนเพื่อบ่งบอกถึงความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร, แผนกซ่อมบำรุงในการป้องกันการ Breakdown , และแผนกอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรต่างๆ

ซึ่งความสั่นสะเทือนที่มากเกินปกตินั้น หากเกิดความละเลย ไม่มีการตรวจเช็คจนเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดกับเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนภายใน ผลลัพธ์ที่ได้ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม หรือเกิดการ Breakdown ทำให้เกิดความล่าช้าต่อการผลิต ร้ายแรงที่สุดคือ ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เลยก็ยังมี โดยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vivration Meter) สามารถช่วยในงานตรวจสอบและซ่อมบำรุง เพื่อให้ทราบปัญหาของเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย และไม่จำเป็นต้องเข้าไปเสี่ยงในพื้นที่อันตราย

หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนหลักๆ มี 3 หน่วยคือ Displacement ,Velocity ,Acceleration

การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)

มักใช้ในการวัด การสั่นสะเทือน ของรอบเครื่องจักร จากระยะเคลื่อนที่จุดแรก ไปถึงจุดอ้างอิงเท่าไหร่ โดยวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว(inch)

มักใช้กับเครื่องจักรที่มีรอบต่ำๆ ไม่เกิน 1200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ไม่เกิน 20 Hz

การวัดความเร็ว (Velocity)

มักใช้ในการวัด การความเร็วรอบของเครื่องจักร โดยวัดแบบ RMS

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)

ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากว่า 1,200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20 Hz-1000 Hz

การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)

มักใช้ในการวัด การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่นที่

นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2)

มักใช้วัดกับการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไป
Read Our Latest News

News & Articles

Maintenance machine การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นกระบวนการที่สำคัญในการรักษาประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและใช้งบประมาณการบำรุงรักษาให้เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องจักรนั้น ๆ การบำรุงรักษาเครื่องจักรมีหลายระดับตั้งแต่การดูแลรักษาประจำวันจนถึงการซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรมีปัญหาหรือชำรุด ดังนั้นการบำรุงรักษาเครื่องจักรมีประโยชน์หลายด้าน  ประเภทของการบำรุงเครื่องจักร งานบำรุงรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท  Breakdown Maintenance ( การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย )   Planned/Preventive maintenance ( การบำรุงรักษาตามการวางแผน
เครื่องจักรนั้น มีหลายประเภท หลายการใช้งาน ซึ่ง จะแบ่งตามรูปแบบการใช้งานในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น การทำงานไม่ซับซ้อน อาจจะใช้เครื่องจักรที่เป็นรูปแบบ รอก , เชือก, ฟันเฟืองเล็กน้อย เป็นต้น ขยับความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมา ก็จะเป็นพวกที่ทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์เช่น เครื่องจักรในรูปแบบ PLC , เครื่องจักรประเภทมอเตอร์ , เครื่องจักรประเภทไฮดรอลิค เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องจักรในแต่ละประเภท ยกตัวอย่างมา ดังนี้
FOREVER AND A DAY TECHNOLOGY

Product

X